โรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease)



โรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease) เป็นโรคติดต่อแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรุนแรงในสัตว์ปีก ซึ่งรวมทั้ง นก ไก่บ้าน ไก่ป่า โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส avian paramixovirus type1 (APMV-1) สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง

โดยปกติ เชื้อชนิดนี้จะแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ก่อโรคไม่รุนแรง (lentogenic), สายพันธุ์ที่ก่อโรคระดับปานกลาง (mesogenic), และสายพันธุ์ที่ก่อโรคระดับรุนแรงมาก (velogenic) อาการแสดงของโรคจะเป็นลักษณะของโรคทางเดินหายใจ แต่ในบางครั้งอาจพบอาการทางระบบประสาท หรือมีอาการท้องร่วง เป็นอาการนำโรคได้ การแยกอาการทางคลินิกโดยรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับไข้หวัดนก ดังนั้นการใช้เทคนิคการตรวจทางห้องปฏิบัติการเชิงโมเลกุลจึงจำเป็นมากในการบ่งชี้ การจำแนกโรค และสายพันธุ์ในการก่อโรค

ในปัจจุบันการตรวจด้วยเทคนิคทางโมเลกุลนั้น สามารถบ่งบอกถึงระดับสายพันธุ์ของไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิลได้ดีมาก โดยเริ่มต้นจากการสกัดสารพันธุกรรมชนิด อาร์ เอ็น เอ จากเชื้อไวรัส ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรมได้หลากหลายรูปแบบในท้องตลาด เช่น High Pure Viral RNA Kit, High Pure Viral Nucleic Acid Kit หรืออื่นๆ จากนั้นทำการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมอย่างจำเพาะด้วยเทคนิค Reverse Transcription PCR ซึ่งสามารถเลือกใช้บนแพลตฟอร์มเครื่อง PCR หรือเครื่องReal-time PCR (LightCycler 480 II) ก็ได้

ในขั้นตอนการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมอย่างจำเพาะ จะทำได้โดยการออกแบบไพรเมอร์ให้จำเพาะต่อสารพันธุกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้เป็นช่วงยีน AMPV-1 “F-gene” ในการออกแบบจะทำให้ได้ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมที่ 535 bp เมื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเครื่อง PCR จากนั้นจะทำการวิเคราะห์แยกสายพันธุ์ความรุนแรงในการก่อโรค ด้วยการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะชนิด BsaHI ในการตัดสารพันธุกรรมออกเป็นชิ้นขนาดตามจุดที่เอนไซม์เข้าจับ หากเป็นสายพันธุ์ชนิด lentogenic และ mesogenic จะได้ชิ้นส่วนดี เอ็น เอ ที่ความยาว 189 และ 346 bp ตามลำดับ ด้วยการวิเคราะห์ผ่านการรันเจลอิเล็กโตรโฟเรสิส แต่หากเป็นสายพันธุ์ velogenic จะมีความยาวเท่าเดิมที่ 535 bp เนื่องจากไม่มีตำแหน่งจำเพาะต่อเอนไซม์ตัดจำเพาะชนิดนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติม)

หากทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Real-time PCR การวิเคราะห์ผ่านการรันเจลอิเล็กโตรโฟเรสิส จะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากจะอาศัยการออกแบบไพร์เมอร์และโพรบ ให้มีความจำเพาะไปในแต่ละสายพันธุ์ตามความรุนแรงของโรค ทั้งนี้เนื่องจากสายพันธุ์ lentogenic และ mesogenic ไม่ได้จัดอยู่ในสายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง ดังนั้นการแยกสายพันธุ์ด้วยเทคนิค Real-time PCR จะนิยมตรวจแยกเฉพาะสายพันธุ์ lentogenic และสายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง velogenic

ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Real-time PCR จะอำนวยให้การตรวจสอบสามารถทำการแยกสายพันธุ์ไปได้พร้อมกันในหลุมปฏิกิริยาเดียวกันได้ (LightCycler Multiplex RNA Virus Master) โดยการติดสีฟลูออเรสเซนต์ที่โพรบจำเพาะด้วยสีต่างชนิดกัน (Multicolor detection) ทำให้ได้ข้อมูลการวิเคราะห์ในเวลาอันรวดเร็ว

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : บริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด โทร : 02-2748133